ธนาคาร
อย่างแหล่งเงินกู้

    เลือกจำนวนเงินและระยะเวลาของเงินกู้

    บาท
    เดือน
    วิธีการรับ
    ขอสมัครทันที

    สมัครกู้ยืมเงินด่วนแบบบัตรเครดิต สินเชื่อเงินสดหรือเงินกู้นอกระบบกับหลายบริษัทแล้วจะได้รับผลดีกว่า

    refinance บ้าน

    ฐานรายได้ - ต้องมีเงินฝากประเภทเผื่อเรียกของธนาคาร

    อายุ - 20 ปีขึ้นไป

    วงเงิน - วงเงินให้กู้ตามเกณฑ์หลักประกัน

    ดอกเบี้ย - เริ่มต้น 3.49% ต่อปี(ในปีแรก)

    รีไฟแนนซ์บ้านออมสิน

    ฐานรายได้ - ต้องมีเงินฝากประเภทเผื่อเรียก

    อายุ - 20 ปีขึ้นไป

    วงเงิน - วงเงินให้กู้ตามเกณฑ์หลักประกัน

    ดอกเบี้ย - เริ่มต้น 3.49% ต่อปี(ในปีแรก)


    รีไฟแนนซ์

    ก่อนที่จะพาทุกท่านไปทำความรู้จัก ทำความเข้าใจกับการรีไฟแนนซ์ทั้งการรีไฟแนนซ์รถยนต์ การรีไฟแนนซ์รถจักรยานยนต์ และการรีไฟแนนซ์บ้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสินเชื่อรีไฟแนนซ์, ดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ และ รีไฟแนนซ์ที่ไหนดี เป็นต้น อยากจะพาผู้อ่านทุกท่านมาทำความรู้จักกับคำว่าไฟแนนซ์ และการจัดไฟแนนซ์เสียก่อน

    ไฟแนนซ์คืออะไร?

    ไฟแนนซ์ (Finance) คือ เงินที่ออกโดยสถาบันการเงินโดยการกู้เงินผ่านธนาคารต่างๆ ไม่เพียงเฉพาะแค่ธนาคารเพียงสถาบันการเงินเดียว ซึ่งการจัดไฟแนนซ์นั้นมีประโยชน์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการที่สามารถทำได้สะดวก ตลอดจนได้รับการอนุมัติรวดเร็ว และสามารถทำได้ง่ายมากกว่ากว่าการขอสินเชื่อเงินกู้รถยนต์จากธนาคาร ดังนั้นแล้วผ่อนรถกับไฟแนนซ์ รวมไปถึงการรีไฟแนนซ์รถทั้งจึงเป็นที่นิยมในหมู่คนที่คิดจะซื้อรถแบบเงินผ่อนงวด

    เงินกู้ คืออะไร?

    เมื่อสักครู่ได้กล่าวถึงคำจำกัดความของไฟแนนซ์ว่าเป็นหนึ่งในเงินกู้รูปแบบหนึ่งไปแล้ว โดยเงินกู้ หมายถึง การที่บุคคลมีความสนใจและต้องการกู้เงิน ต้องการเงินด่วนฉุกเฉินจากแหล่งเงินกู้ เรียกแทนว่าผู้กู้ ซึ่งเป็นผู้สนใจและต้องการไปขอกู้เงินในปริมาณ และ/หรือจำนวนหนึ่งกับผู้ให้กู้นั่นเอง โดยทั้งสองฝ่ายได้ตกลงทำสัญญาที่ระบุระยะเวลาที่ต้องชำระเงินที่กู้ หรือหนี้อย่างชัดเจน ซึ่งทั้งสองฝ่ายต้องตกลงว่าจะผ่อนชำระเงินเป็นงวด หรือจ่ายเต็มจำนวนก็สุดแล้วแต่สัญญาการกู้เงินนั้นๆ ทั้งนี้ผู้ให้กู้เงินมีสิทธิที่จะคิดอัตราดอกเบี้ยได้ในอัตราตามที่ตกลงกันไว้ โดยจำนวนเงินที่ให้กู้เงินจะมีมูลค่า และปริมาณมากมายเท่าใดนั้น ขึ้นอยู่กับหลักทรัพย์ของผู้กู้เงินที่นำมาค้ำประกันในการทำสัญญา 

    การรีไฟแนนซ์คืออะไร?

    เมื่อทราบถึงความหมายเบื้องต้นของไฟแนนซ์ และเงินกู้กันไปแล้ว ต่อมาจะขอลงรายละเอียดของการรีไฟแนนซ์บ้าง ซึ่งหากพูดถึงความหมายของการรีไฟแนนซ์นั้น 

    การรีไฟแนนซ์ หมายถึง การกู้ยืมสินเชื่ออันใหม่เพื่อนำสินเชื่ออันใหม่นี้มาชำระหนี้ของสินเชื่อเดิมนั่นเอง การรีไฟแนนซ์นั้นทำไปเพื่อย้ายการผ่อนสินเชื่อเก่าไปการผ่อนสินเชื่อรีไฟแนนซ์ใหม่ที่มีประโยชน์ และคุ้มค่ามากกว่า ทั้งนี้สามารถเลือกกู้สินเชื่อรีไฟแนนซ์จากสถาบันการเงินเจ้าเดิม หรือสถาบันการเงินเจ้าใหม่ก็ได้เช่นกัน ซึ่งสามารถเปรียบเทียบการรีไฟแนนซ์ได้ว่า คล้ายคลึงกับการเปลี่ยนย้ายค่ายมือถือ หรือแม้กระทั่งการเปลี่ยนโปรโมชั่นเพื่อประโยชน์ ความคุ้มค่า และความเหมาะสมของแต่ละบุคคลให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม

    หากจะขยายความหมายของการรีไฟแนนซ์ (Refinance) ให้ลึกซึ้งเป็นวิชาการมากยิ่งขึ้นสามารถกล่าวได้ว่า การรีไฟแนนซ์ คือ การนำเงินกู้ก้อนใหม่ไปชำระให้แก่เจ้าหนี้รายเดิม ซึ่งเงินกู้ก้อนใหม่ที่กล่าวไปนั้นส่วนใหญ่จะมีเงื่อนไขสำหรับการกู้ยืมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ที่ดีมากกว่า ดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ที่ถูกว่า งวดผ่อนชำระต่อเดือนมีทั้งน้อยลง และ/หรือมากขึ้น รวมไปถึงระยะเวลาผ่อนทั้งแบบนาน และ/หรือสั้นลง โดยเป็นไปตามความต้องการของผู้กู้สินเชื่อรีไฟแนนซ์นั่นเอง

    ภายในบทความนี้จะกล่าวถึงการรีไฟแนนซ์ 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ การรีไฟแนนซ์รถยนต์ การรีไฟแนนซ์รถจักรยานยนต์ และการรีไฟแนนซ์บ้าน โดยแต่ละประเภทของการรีไฟแนนซ์นั้นมีรายละเอียดดังนี้

    การรีไฟแนนซ์รถยนต์คืออะไร?

    การรีไฟแนนซ์รถยนต์เป็นหนึ่งในประเภทของการรีไฟแนนซ์ ซึ่งการรีไฟแนนซ์รถยนต์นั้น หมายถึง การที่คุณนำรถยนต์ส่วนตัวมาขอเงินกู้ มาขอสินเชื่อก้อนใหม่ เพื่อนำเงินกู้ก้อนใหม่ดังกล่าวไปชำระหนี้ก้อนเดิม

    ทั้งนี้รถยนต์ที่ต้องการจะนำมารีไฟแนนซ์รถยนต์นั้นต้องได้รับการตรวจสอบกับทางสถาบันการเงินที่คุณมีความต้องการจะไปรีไฟแนนซ์รถยนต์ หรือต้องการจะไปขอกู้สินเชื่อรีไฟแนนซ์ใหม่นั่นเอง โดยสถาบันการเงินดังกล่าวจะตรวจสอบรถยนต์ของคุณว่าผ่านเกณฑ์การรีไฟแนนซ์รถยนต์ตามที่กำหนดหรือไม่อย่างไร ซึ่งจะเป็นการตรวจสอบให้ทราบถึงเรื่องดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ด้วยว่าคุ้มค่า และเหมาะสมกับการผ่อนชำระก้อนใหม่นี้มากน้อยเพียงใด และเป็นดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์แบบคงที่ หรือแบบลดต้นลดดอกตามความต้องการของผู้ยื่นกู้ขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์รถยนต์ หมายรวมไปถึงการตรวจสอบราคากลางมูลค่าของรถยนต์แต่ละยี่ห้อ แต่ละรุ่นในมูลค่าของตลาด 

    วิธีการเลือกสถาบันรีไฟแนนซ์รถยนต์

    การรีไฟแนนซ์รถยนต์เป็นหนึ่งในหนทางที่เป็นประโยชน์ต่อการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในชีวิตของคุณได้ ดังนั้นแล้วหากผู้อ่านทุกท่านต้องการอยากรีไฟแนนซ์รถยนต์ คุณผู้อ่านสามารถเลือกรีไฟแนนซ์รถยนต์กับสถาบันการเงินเดิม หรือเลือกที่จะรีไฟแนนซ์รถยนต์กับสถาบันการเงินใหม่ก็ได้เช่นกัน

    กรณีที่เลือกรีไฟแนนซ์รถยนต์กับสถาบันการเงินเดิม คุณควรตรวจสอบเงื่อนไขในสัญญารีไฟแนนซ์รถยนต์ ประกอบด้วยเนื้อหาด้านการชำระงวดแบบผ่อนจ่ายพร้อมกับดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ ตลอดจนพิจารณาถึงมูลค่าของราคารถยนต์ของคุณเองเสียก่อนที่จะไปทำการรีไฟแนนซ์รถยนต์กับสถาบันทางการเงินแห่งเดิม เพื่อผลประโยชน์ด้านการลดอัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์เมื่อมีการผ่อนจ่ายนั่นเอง

    กรณีที่เลือกที่จะรีไฟแนนซ์รถยนต์กับสถาบันการเงินใหม่ คุณจำเป็นที่จะต้องตรวจเช็กสถานะเครดิตบูโรของตัวคุณเองก่อนที่จะเลือกสถาบันการเงินใหม่ ทั้งนี้เพื่อให้สถาบันการเงินแห่งใหม่นั้นสามารถประเมินสถานะทางการเงินของคุณได้ รวมไปถึงการประเมินยอดปิดรถยนต์นั้นไม่ควรเกินยอดที่สถาบันการเงิน
    รีไฟแนนซ์ใหม่กำหนด โดยในส่วนนี้ยังมีประโยชน์ด้านการประเมินได้ว่าคุณมีโอกาสได้รับเงินส่วนต่างจากการรีไฟแนนซ์รถยนต์ครั้งใหม่นี้เป็นจำนวนเท่าใดได้อีกด้วย ซึ่งการเลือกที่จะรีไฟแนนซ์รถยนต์กับสถาบันการเงินใหม่นั้นเปรียบเสมือนการเปลี่ยนเจ้าผ่อนชำระใหม่นั่นเอง

    สำหรับผู้ที่สนใจ และต้องการอยากรีไฟแนนซ์รถยนต์ แต่ยังลังเลอยู่ว่ารีไฟแนนซ์ที่ไหนดี ภายในบทความนี้ได้ยกตัวอย่างรีไฟแนนซ์รถยนต์ที่ได้ชื่อว่าอนุมัติรวดเร็ว วงเงินสูง และดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ต่ำ ประกอบด้วย รีไฟแนนซ์รถยนต์ Car4Cash, รีไฟแนนซ์รถยนต์ Carmana, รีไฟแนนซ์รถยนต์ Kasikorn Leasing, รีไฟแนนซ์รถยนต์ Tisco Auto Cash และรีไฟแนนซ์รถยนต์ ศรีสวัสดิ์ ซึ่งมีรายละเอียดของแต่ละการรีไฟแนนซ์รถยนต์ดังตารางเปรียบเทียบด้านล่างนี้

    การรีไฟแนนซ์รถจักรยานยนต์ผ่อนไม่หมด

    ตัวอย่างประเภทของการรีไฟแนนซ์ต่อมา ได้แก่ การรีไฟแนนซ์รถจักรยานยนต์ ซึ่งภายในบทความนี้จะหยิบนำการรีไฟแนนซ์รถจักรยานยนต์ผ่อนไม่หมดมาเล่าให้ผู้อ่านทุกท่านทราบ

    การรีไฟแนนซ์รถจักรยานยนต์ที่ยังผ่อนไม่หมด คือ การขอกู้เงิน ยื่นกู้ขอสินเชื่อผ่อนรถจักรยานยนต์ ซึ่งต้องการที่จะปรับฐานดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ หรือแม้กระทั่งต้องการย้ายสถาบันการเงินที่ให้บริการกู้สินเชื่อ โดยนำเงินจากสถาบันการเงินใหม่ และ/หรือบริษัทรีไฟแนนซ์ไปชำระให้แก่สถาบันการเงินเดิมที่ใช้บริการยื่นกู้ซื้อรถจักรยานยนต์ไว้นั่นเอง 

    การรีไฟแนนซ์รถจักรยานยนต์ที่ยังผ่อนไม่หมด : สมหวังเงินสั่งได้

    เริ่มต้นที่ตัวอย่างแรกของการรีไฟแนนซ์รถจักรยานยนต์ที่ยังผ่อนไม่หมด ได้แก่ สมหวังเงินสั่งได้ซึ่งหากคุณต้องการรีไฟแนนซ์รถจักรยานยนต์กับผลิตภัณฑ์นี้นั้นคุณต้องกำลังผ่อนรถจักรยานยนต์กับบริษัท ไฮเวย์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของธนาคาร Tisco กรณีที่ผ่อนรถจักรยานยนต์กับบริษัทไฟแนนซ์ที่อื่นนั้นก็สามารถยื่นกู้ขอสินเชื่อทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์ได้เช่นกัน เพียงแต่ต้องผ่อนชำระรถจักรยานยนต์หมดแล้วถึงจะมีสิทธิ์กู้ขอรีไฟแนนซ์ได้ รวมไปถึงมีสิทธิ์ในการสมัครสินเชื่อได้เช่นกัน แค่ครอบครองเล่มทะเบียนรถจักรยานยนต์เป็นเวลาหนึ่งวันขึ้นไป 

    โดยรายละเอียด และเงื่อนไขอื่นๆ ของการรีไฟแนนซ์รถจักรยานยนต์ที่ยังผ่อนไม่หมดกับสมหวังเงินสั่งได้ ประกอบด้วย รถจักรยานยนต์ที่ยังผ่อนไม่หมดนั้นสามารถมีอายุได้มากที่สุด 12 ปี, ระยะเวลาผ่อนจ่ายตั้งแต่ 6 เดือนถึง 30 เดือน และ คิดดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ในอัตราร้อยละ 13.08 ต่อปี หรือร้อยละ 1.09 ต่อเดือน

    การรีไฟแนนซ์รถจักรยานยนต์ที่ยังผ่อนไม่หมด : กรุงศรี Car 4 Cash

    อีกหนึ่งตัวอย่างของการรีไฟแนนซ์รถจักรยานยนต์ที่ยังผ่อนไม่หมดมาจากธนาคารกรุงศรี ในรูปแบบผลิตภัณฑ์ “Car 4 Cash” โดยจุดเด่น ได้แก่ คุณสามารถนำรถจักรยานยนต์ที่กู้จากธนาคาร และ/หรือสถาบันทางการเงินที่มีชื่อเสียงมาประกอบการทำเรื่องรีไฟแนนซ์ได้ ซึ่งการรีไฟแนนซ์รถจักรยานยนต์ที่ยังผ่อนไม่หมดมาจากธนาคารกรุงศรี ในรูปแบบผลิตภัณฑ์ Car 4 Cash นั้นเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการรีไฟแนนซ์รถจักรยานยนต์เพื่อได้รับเงินก้อนที่อาจจะมีมูลค่ามากขึ้น สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เพื่อความพร้อมในกรณีที่ต้องใช้เงินฉุกเฉิน รวมไปถึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการระยะเวลาผ่อนจ่ายงวดที่นานยิ่งขึ้นสูงสุดกว่า 3 ปี โดยกรุงศรีรีไฟแนนซ์รถยนต์ที่ยังผ่อนไม่หมดมาจากธนาคารกรุงศรีนี้คิดดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์แบบลดต้นลดดอกในอัตราร้อยละ 24 ต่อปี

    การรีไฟแนนซ์บ้านคืออะไร?

    การรีไฟแนนซ์บ้าน หมายถึง การที่คุณขอยื่นกู้สินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านกับสถาบันการเงิน และ/หรือธนาคารสถาบันใหม่ เพื่อการลดภาระเงินกู้จากการขอสินเชื่อครั้งเก่าที่คงอยู่ นอกจากนี้การรีไฟแนนซ์บ้านยังมีจุดประสงค์เพื่อลดดอกเบี้ยการผ่อนบ้านให้น้อยลง อีกทั้งยังช่วยให้ยอดผ่อนบ้านต่อเดือนลดน้อยลงอีกด้วย ซึ่งส่งให้การผ่อนบ้านหมดไวขึ้นนั่นเอง

    ตัวอย่างการรีไฟแนนซ์บ้าน เช่น คุณกู้เงินมาเพื่อซื้อบ้านในราคาหลังละ 3 ล้านบาท เมื่อคุณผ่อนจ่ายค่าบ้านไปได้ประมาณหนึ่งถึงสองปีแรก ดอกเบี้ยผ่อนชำระบ้านจะถูกอยู่ ทว่าหลังจากนั้นคุณจะประสบปัญหาดอกเบี้ยผ่อนชำระบ้านแบบลอยตัวแพงยิ่งขึ้น ส่งผลให้คุณจะประสบปัญหาผ่อนบ้านไม่ทัน ดังนั้นแล้วการรีไฟแนนซ์บ้านจะเป็นทางออกสำหรับปัญหาดังกล่าว ซึ่งการรีไฟแนนซ์บ้านสามารถเลือกรีไฟแนนซ์ได้ทั้งกับสถาบันการเงิน และ/หรือธนาคารสถาบันเดิม หรือเลือกรีไฟแนนซ์ได้ทั้งกับสถาบันการเงิน และ/หรือธนาคารสถาบันใหม่ก็ได้เช่นกัน โดยการรีไฟแนนซ์บ้านนั้นยังมาพร้อมกับเงื่อนไขการผ่อนจ่ายเงินกู้บ้านส่วนที่เหลือดีขึ้นกว่าเดิมจากการที่ยอดผ่อนต่อเดือนต่ำลง และขยายระยะเวลาผ่อนสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านให้นานมากขึ้น

    คุณสามารถยื่นขอการรีไฟแนนซ์บ้านได้ก็ต่อเมื่อหมดสัญญากับสถาบันการเงิน และ/หรือธนาคารสถาบันเดิมที่เคยยื่นขอสินเชื่อกู้ซื้อบ้านไปก่อนหน้า ส่วนใหญ่สัญญายื่นขอกู้สินเชื่อบ้านจะมีอายุประมาณ 3 ปี 

    วิธีการรีไฟแนนซ์บ้าน

    การรีไฟแนนซ์บ้านสามารถทำได้ง่ายๆ ขอแค่คุณมีรายได้ประจำอย่างแน่นอนชัดเจน และเตรียมเอกสารตามที่สถาบันการเงิน และ/หรือธนาคารกำหนด แล้วนำมายื่นทำการรีไฟแนนซ์บ้าน ซึ่งมีขั้นตอนการ
    รีไฟแนนซ์บ้านดังต่อไปนี้

    1. การตรวจสอบสัญญาเดิม ไม่ว่าจะเป็นรายละเอียดของสัญญา เงินผ่อนชำระบ้านที่เหลือ อัตราส่วนของดอกเบี้ยผ่อนชำระบ้าน รวมไปถึงระยะเวลาในการผ่อนชำระ 
    2. การเลือกสถาบันการเงิน และ/หรือธนาคารใหม่ สามารถเลือกจากการอ้างอิงจากอัตราดอกเบี้ยผ่อนสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ควบคู่ไปกับระยะเวลาการผ่อนสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน 
    3. การเตรียมเอกสารตามที่สถาบันการเงิน และ/หรือธนาคารกำหนด
    4. การยื่นขอรีไฟแนนซ์กับสถาบันการเงิน และ/หรือธนาคารที่ต้องการ ยิ่งถ้าคุณเตรียมเอกสารประกอบการรีไฟแนนซ์บ้านอย่างครบถ้วน การดำเนินการจะใช้เวลาไม่นาน
    5. การทำสัญญา เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบ อ่านรายละเอียดสัญญาใหม่อย่างละเอียด เพื่อป้องกันความผิดพลาดในภายหลัง

    เอกสารประกอบการรีไฟแนนซ์บ้าน

    เมื่อข้างต้นได้กล่าวถึงขั้นตอนการรีไฟแนนซ์บ้านไปบ้างแล้ว หนึ่งในขั้นตอนการรีไฟแนนซ์บ้าน ได้แก่ การเตรียมเอกสาร ซึ่งเอกสารประกอบการรีไฟแนนซ์บ้านสามารถแบ่งออกเป็นเอกสารประจำตัวบุคคล, เอกสารทางการเงิน และเอกสารหลักประกันการรีไฟแนนซ์บ้าน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

    เอกสารประกอบการรีไฟแนนซ์บ้าน : เอกสารประจำตัวบุคคล

    เอกสารประกอบการรีไฟแนนซ์บ้านประเภทเอกสารประจำตัวบุคคล ได้แก่ สำเนาบัตรประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้าน, สำเนาบัตรประชาชนของคู่สมรส (ถ้ามี) และสำเนาทะเบียนบ้านคู่สมรส (ถ้ามี)

    เอกสารประกอบการรีไฟแนนซ์บ้าน : เอกสารทางการเงิน

    เอกสารประกอบการรีไฟแนนซ์บ้านประเภทเอกสารทางการเงิน แบ่งออกเป็น เอกสารสำหรับผู้ที่มีรายได้ประจำ หรือมีเงินเดือน และเอกสารสำหรับผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว

    เอกสารประกอบการรีไฟแนนซ์บ้านประเภทเอกสารทางการเงินสำหรับผู้ที่มีรายได้ประจำ หรือมีเงินเดือน ได้แก่ หลักฐานเงินเดือนย้อนหลังสามถึงหกเดือน, เอกสารรับรองการทำงาน และ 50 ทวิ หรือสำเนารับรองการหักภาษี

    เอกสารประกอบการรีไฟแนนซ์บ้านประเภทเอกสารทางการเงินสำหรับผู้ที่ประกอบธุรกิจส่วนตัว ได้แก่     สำเนาเอกสารรับรองการจดทะเบียนการค้า, สำเนาบัญชีแสดงรายชื่อผู้ถือหุ้น, สำเนา Bank Statement ย้อนหลังครึ่งปี และ ภ.พ.30 หรือสำเนาแบบแสดงภาษีซื้อขาย 

    เอกสารประกอบการรีไฟแนนซ์บ้าน : เอกสารหลักประกันการรีไฟแนนซ์บ้าน

    เอกสารประกอบการรีไฟแนนซ์บ้านประเภทเอกสารหลักประกันสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน ได้แก่ หนังสือกรรมสิทธิ์, สำเนาโฉนดที่ดิน, สำเนาสัญญาการซื้อขาย-ให้ที่ดิน และ/หรือสัญญาซื้อขายห้องชุด, สำเนาสัญญากู้เงินจากสถาบันการเงิน และ/หรือธนาคารเดิม, สำเนาสัญญาการจำนองที่ดิน และสำเนาใบเสร็จที่โชว์ธุรกรรมซึ่งมีความสัมพันธ์กับบ้าน

    การรีไฟแนนซ์บ้าน : รีไฟแนนซ์ที่ไหนดี

    สถาบันการเงิน และ/หรือธนาคาร ดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์เฉลี่ย 3 ปีแรก วงเงินอนุมัติสูงสุด เงื่อนไข
    กรุงศรีการรีไฟแนนซ์บ้าน ร้อยละ 2.75 ร้อยละ 95 หลักประกันตั้งแต่ 1.5 ล้านบาทขึ้นไป
    สินเชื่อบ้านสุขสันต์ ธอส. MRR -ร้อยละ1.00 สำหรับลูกค้าสวัสดิการ

    MRR -ร้อยละ0.50 สำหรับลูกค้ารายย่อย

    เป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด หลักประกันตั้งแต่สามล้านบาทขึ้นไป
    กสิกรไทยการรีไฟแนนซ์บ้าน Supersave MRR

    -ร้อยละ1.50

    ร้อยละ 100 ราคาที่อยู่อาศัยน้อยกว่า สิบล้านบาท

    บทสรุปการรีไฟแนนซ์

    สุดท้ายนี้จะขอกล่าวสรุปถึงข้อดีและข้อเสียของการรีไฟแนนซ์ และข้อควรระวังในการรีไฟแนนซ์ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

    ข้อดีของการรีไฟแนนซ์

    1. ดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์เงินกู้ใหม่ต่ำกว่าเดิม
    2. อาจได้วงเงินกู้สินเชื่อรีไฟแนนซ์มากกว่ายอดค้างชำระเดิม
    3. เพิ่มสภาพคล่อง จำนวนเงินผ่อนชำระต่อเดือนต่ำลง
    4. เนื่องจากเงินส่วนต่างจากอัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ที่ต่ำลง ส่งผลให้มีเงินเหลือสำหรับใช้จ่ายส่วนตัว หรือนำเงินส่วนต่างนี้ไปหมุนให้เกิดสภาพคล่องมากยิ่งขึ้น

    ข้อเสียของการรีไฟแนนซ์

    1. ระยะเวลาผ่อนจ่ายสินเชื่อรีไฟแนนซ์ยาวนานขึ้น
    2. เสียค่าจัดรีไฟแนนซ์ใหม่ รวมถึงอาจต้องเสียค่าปรับกรณีเกิดการไถ่ถอนเงินก่อนกำหนด
    3. กรณีที่ตกงาน ไม่มีรายได้อาจส่งผลต่อการเตรียมเอกสารซึ่งอาจทำให้ยื่นกู้รีไฟแนนซ์ไม่ผ่าน จากการขาดความชัดเจนของรายได้ เป็นต้น

    ข้อควรระวังในการรีไฟแนนซ์

    สุดท้ายนี้จะขอกล่าวปิดท้ายบทรีไฟแนนซ์ด้วยข้อควรระวังในการรีไฟแนนซ์ ซึ่งผู้อ่านทุกท่านควรให้ความสนใจ และระมัดระวังสิ่งเหล่านี้เมื่อมีความต้องการที่จะรีไฟแนนซ์ ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียม และ/หรือค่าใช้จ่ายซึ่งมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นระหว่างดำเนินการรีไฟแนนซ์ ตัวอย่างเช่น ค่าจดจำนองใหม่, ค่าประเมินหลักทรัพย์, ค่าอาการแสตมป์ หมายรวมถึงค่าปรับอื่นๆ ไปจนถึงควรระวังเรื่องของวิธีการคิดดอกเบี้ยรี
    ไฟแนนซ์ของเงินก้อนใหม่อีกด้วย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อคุณด้านการประหยัดค่าใช้จ่าย ตลอดจนเรื่องดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ เป็นต้น

    ดังนั้นแล้วผู้อ่านทุกท่านควรคำนวณอย่างละเอียดถี่ถ้วนทุกครั้งก่อนที่จะทำการรีไฟแนนซ์จริงๆ ซึ่งในปัจจุบันสามารถลองคำนวณการรีไฟแนนซ์คร่าวๆ ได้ที่เว็บไซต์ของแหล่งเงินกู้ สถาบันการเงินบางแห่งที่มีบริการคำนวณการรีไฟแนนซ์บนโลกออนไลน์อยู่